หน้าแรก กำเนิด ความนิยม                 หลักฐานเกี่ยวกับโนรา การจัดพิธีโนราโรงครู  
 

ความนิยมในโนราของชาวบ้านภาคใต้นั้น มีมากขนาดที่เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
(ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เคยทรงบันทึก
ไว้ เมื่อ พ.ศ. ๓๔๕๒ ว่า
                "ค่าหาก็ ๒ บาทเท่านั้น ถ้าเป็นคละครบางกอกก็ตาย แต่มโนห์ราพอแล้ว เพราะ
ไม่ต้องซื้ออะไรกิน ไปไหนชาวบ้านต้องเลี้ยงตลอดทาง ราวกับเจ้าหรือขุนนางผู้ใหญ่"
                และสำหรับชาวบ้านภาคใต้แล้ว เป็นนายโรงโนราดูจะมีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีอิสระ
ในตัวยิ่งกว่าอาชีพเจ้านายข้าราชการอันสูงส่งยิ่งในสมัยนั้นเป็นไหนๆ ด้วยเหตุดังที่เจ้าฟ้า
มหาวชิราวุธทรงเล่าเรื่องนายโรงโนราคนหนึ่ง คือนายคลิ้ง ว่า
                "นายคลิ้งนั้นเจ้าคุณรัษฎาก็ได้เคยใช้เป็นทนายสนิทอยู่เหมือนกัน ภายหลังออก
จากเจ้าคุณไปเป็นกำนัน แต่ไม่พอใจได้ลาออกเสียจากตำแหน่งกำนัน ออกไปเล่นมโนห์รา
ตามเดิม นายคลิ้งเป็นคนที่ช่างพูดมาก เจ้าคุณรัษฎาท่านเล่าว่า เมื่อลาออกจากตำแหน่งกำนัน
ในกรมหลวงดำรงได้รับสั่งถามว่าเหตุใดจึงลาออก นายคลิ้งทูลชี้แจงว่า เป็นกำนันที่ไหน
จะสู้เป็นมโนห์ราได้ อย่าว่าแต่จะให้เป็นกำนันเลยถึงแม้จะให้เป็นอำเภอ หรือเจ้าเมือง
หรือเทศาก็ไม่ต้องการสู้เป็นมโนห์ราไม่ได้ เป็นมโนห์ราจะฆ่าคนเฆี่ยนคน หรือทำอะไร
ก็ได้เท่ากับเทศา (คือภายในจังหวัดโรงมโนห์ราเวลาเขาเป็นนายโรง อำนาจเขาก็เต็มที่)
 แต่เขาดีกว่าเทศาเพราะเทศายังมีคนถอดได้ ตัวเขาไม่มีใครถอดได้เลย"

 
 
 
           
 
Next